วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

การทำกรงนก



โครงงาน

วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี

       เรื่อง  ภูมิปัญญาท้องถิ่น(การทำกรงนก)


จัดทำโดย

                 นาย ปริญช์  นาควรรณ์                             เลขที่10
   นางสาวรัตติกาล      หกราโชติ                  เลขที่ 30


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   6/1  ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา2555



เสนอ

อาจารย์  พรทิพย์    มหันตมรรค
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม





คำนำ

รายงานเรื่องโครงงานภูมิปัญญานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีมี              จุดประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการทำกรงนก ซึ่งรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิธีการทำและวิธีการดำเนินงาน

การศึกษาค้นคว้าเรื่องโครงงานภูมิปัญญาเล่มนี้ข้าพเจ้าได้วางแผนการดำเนินงานการศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างดีศึกษาจากเว็บไซต์

การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปด้วยดี ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณคณะกลุ่มแม่บ้านพ่อบ้านการทำกรงนกท่านได้ให้คำแนะนำการเขียนรายงานจนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ในด้านแผนปฏิบัติศึกษาการทำรายงาน การเรียบเรียงเนื้อหา การเขียนบรรณานุกรมได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้าพเจ้าหวังว่า เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงมาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี หากมีสิ่งใดในรายงานฉบับนี้จะต้องปรับปรุง ข้าพเจ้าขอน้อมรับในข้อชี้แนะและจะนำไปแก้ไขหรือพัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป
           

ผู้จัดทำ

นายปริชญ์  นาควรรณ์
นางสาวรัตติกาล  โหราโชติ



สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                             หน้า
บทที่ 1 บทนำ
1.แนวคิดที่มาและความสำคัญ                                                                                    1
2.วัตถุประสงค์                                                                                                            1
3.หลักการและทฤษฎี                                                                                                  2
4.ขอบเขตของโครงงาน                                                                                              2
5.สถานที่ไปทำโครงงาน                                                                                             2
6.ผลประโยชน์คาดว่าจะได้รับ                                                                                    3

บทที่
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.ประวัติความเป็นมาของกรงนก                                                                               4-5

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
1.วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า                                                                                         6
2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต                                                                                            7-8

บทที่ 4 ผลการศึกษา
1.ขั้นตอนการผลิต                                                                                                        9-12


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
1.สรุปอภิปรายผล                                                                                                          13
2.ประโยชน์ที่ได้รับ                                                                                                     13-14
3.ข้อเสนอแนะทั่วไป                                                                                                     14
4.ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป                                                                       14

อ้างอิง                                                                                                                            15



บทที่  1
บทนำ

แนวคิดที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันนี้ เด็กๆและเยาวชนรวมถึงผู้ใหญ่ในสังคมภาคใต้ไม่ค่อยที่จะสนใจหรือให้ความสำคัญเกี่ยวกับภูมิปัญญาภาคใต้สักเท่าไหร่ จึงทำให้ดิฉันมีความสนใจที่จะทำโครงงานเรื่อง การทำกรงนก เพื่อให้ทุกๆคนได้มีงานฝีมือเพิ่มขึ้นและได้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและได้นำไปประกอบอาชีพได้
วัตถุประสงค์
1.จัดทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น

2.ได้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

3.เพื่อรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนรุ่นหลังๆได้

หลักการและทฤษฎี
สืบเนื่องมาจากความนิยมเลี้ยงนก2ชนิด คือ นกเขาชวาและนกกรงหัวจุกไว้ฟังเสียงขันและนำมาประชันเสียงกันในสนามแข่งมีผลทำให้เกิดความต้องการที่จะได้กรงนกดีได้กรงสวยงามได้นกตัวเก่งได้อาศัยเป็นความภาคภูมใจเป็นหน้าตาของเจ้าของนกและยังเป็นเสหมือนหนึ่งเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านอีกด้วย

ขอบเขตของโครงงาน

          1.ศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต
          2.สอบถามจากผู้รู้คือ นายห้าสัน บิลหมัด สถานที่ตั้งกลุ่ม บ้านเลขที่ 40 หมู่ที่10 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110


สถานที่ไปทำโครงงาน

บ้านเลขที่ 40 หมู่ที่10 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110


ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้ทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น
2.ได้รู้จักงานฝีมือได้มากขึ้นกว่าเดิม
3.ได้รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ไว้เพื่อลูกๆหลานๆรุ่นหลังๆ
4.ได้ให้นกมีที่อยู่อาศัยที่สบายๆ
5.เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ
6.เพื่อฝึกทำงานเป็นกลุ่ม

บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง





ประวัติความเป็นมาของกรงนก


              การทำกรงนกถือเป็นภูมิปัญญาที่ชุมชนหนองทรายหมู่ที่10 ตำบลคลองแห ได้มีการริเริ่ม ทำกรงนก และรวมกลุ่มในการทำกรงนกขึ้นมา โดยในตอนแรกๆมีการทำกันเพียงไม่กี่ครัวเรือนเท่านั้น การทำเริ่มแรกเป็นการทำเพื่อใช้เลี้ยงนก ภายใน ครัวเรือน โดยเริ่มทำครั้งแรกเมื่อ 40 ปีที่แล้วผู้บุกเบิกการทำกรงนกเป็นคนแรก คือ คนน้ำน้อยเดิมชื่อ หอมเป็นคนไทยพุทธต่อมาเป็นคนมุสลิม และย้ายมาอยู่ที่ หมู่ที่ 10 ตำบลคลองแหชาวบ้านในหมู่บ้านจึงเรียกว่าเจ๊ะหอม และมีการพัฒนาภูมิปัญญากรงนกของชุมชนหนองทรายหมู่ที่10 แบ่งได้3 ยุค ดั้งนี้
ยุคที่1 ปี พ.ศ. 2510 เป็นช่วงที่เทคโนโลยียังไม่เจริญก้าวหน้าจึงต้องใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการเจาะรูกรงนก คือการนำก้านร่มเสียบกับไม้ผัดลนไฟผัดกับมือเพื่อเจาะรู จะต้องทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งใช้เวลานานมากในการทำเนื่องจากไม่มีเครื่องมือทุ่นแรง
ยุคที่2 ปีพ.ศ. 2520 ยุคนี้เริ่มมีเครื่องมือทุ่นแรงบ้างแล้ว คือมีการใช้สว่านมือหมุนเพื่อเจาะรู
ยุคที่3 เป็นยุคปัจจุบัน ผู้ใหญ่บ้านหมัด ณ ชุมชนหนองทราย เริ่มเห็นและนำเครื่องเจาะรูมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่บ้าน
ปัจจุบันนี้มีการทำกรงนกกันมาก เพราะมีลูกค้ามารับกรงนกถึงที่บ้าน โดยลูกค้าจะโทรมาสั่งว่าต้องการขนาดและรูปแบบใด เมื่อครบกำหนดก็จะมารับสินค้า บางครั้งก็จะสั่งสินค้าเพิ่มในวันที่มารับสินค้าว่างวดต่อไป ต้องการสินค้าแบบไหน และเมื่อพ่อค้าคนกลางเริ่มให้ทำ และส่งสินค้าให้ลองไปขายดู พอเริ่มขายได้ตลาดยอมรับก็เลยทำเป็นอาชีพปัจจุบันคนในชุมชนบ้านหนองทรายเกือบ 90% ทำกรงนกเป็นอาชีพหลัก


บทที่3
วิธีการดำเนินงาน
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
          การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังต่อไปนี้
1.  ขั้นศึกษาข้อมูล
1.1  ขั้นสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำกรงนก
                    1.2  ศึกษาวัตถุดิบและส่วนประกอบการทำกรง  
2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ได้มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาจากเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำกรงนก
2.2 ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการได้สังเกต และสัมภาษณ์
3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาศึกษา และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเรียบเรียงนำเสนอในเชิงความเรียง



อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต


     1. ไม้ไผ่








    2. หวาย











     3.ลวด







     4. กิ่งไม้สำหรับนกเกาะ






     5. แชล็ค



 




บทที่4
ผลการศึกษา


ขั้นตอนการผลิต
1.         ขดหวาย ม้วนไว้ประมาณ 2-3 วัน



2.         ขดตัดตามขนาดที่ต้องการ


3.         ใช้สว่าน/เครื่องเจาะ เจาะรูที่ขดหวาย



4.         นำไม้ไผ่มาเหลาเป็นซี่



5. ใช้ซี่ไม้ไผ่ใส่ในรูขดหวาย บน-ล่าง


6. นำหัวกรงที่ทำไว้ใส่ตรงจุดหัวกรง


      7. ตกแต่งใส่ที่สำหรับนกเกาะ



       8.ลงวานิต/แชล็ค ทาไม้

      9. อาจตกแต่งเป็นรูปแบบอื่น ๆ ตามที่ต้องการ

      10.เสร็จสมบูรณ์





บทที่  5
สรุป อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่อง  การทำกรงนก เพื่อมาศึกษาวิธีการทำกรงนก ทำให้ได้รู้ถึงรูปแบบวิธีการทำ และวัฒนธรรมการการอนุรักษ์ของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป
จากการศึกษาพบว่า กรงนก เป็นงานฝีมือที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณ และการทำกรงนกขึ้นมา เพื่อใช้เลี้ยงนก ภายใน ครัวเรือน ใช้ในการประดับบ้านเรือนและได้มีการทำขายอีกด้วยการทำกรงนก จึงเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่เราควร อนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชน ที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นจังหวัดสงขลาตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงวิธีการทำกรงนกของชาวภาคใต้ (ชุมชนหนองทราย)
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
3.ทราบว่าภูมิปัญญาใดที่ทำให้การทำกรงนก (ชุมชนหนองทราย) ขายดีมาจนถึงทุกวันนี้
ข้อเสนอแนะ
          การวิจัยเรื่อง การทำกรงนกเพื่อประกอบการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
          
                1. ข้อเสนอแนะทั่วไป

1.1  ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้  หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อ  อนุรักษ์  และสืบสานต่อไป
1.2  ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป

2.1  ควรจะได้ศึกษา รูปแบบวิถีชีวิตว่าการประกอบอาชีพเป็นอย่างไร และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม

 *********************************************


ปริชญ์  นาควรรณ์

รัตติกาล  หกราโชติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น